ประวัติพอสังเขป
ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยแสงธรรม
18 ธันวาคม พ.ศ. 2508 / ค.ศ. 1965
สมเด็จพระสันตะปาปา ปอลที่ 6 ได้โปรดเกล้าสถาปนาพระฐานานุกรมในประเทศไทยเป็นสังฆมณฑล (Diocese) และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และภาคอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง โดยให้แต่ละอัครสังฆมณฑลมีสามเณราลัยเล็กเป็นสถาบันการฝึกอบรมผู้จะเตรียมตัวเพื่อบวชเป็นบาทหลวงคาทอลิก จึงมีเนื้อหา หลักสูตรการฝึกอบรมที่หลากหลายแตกต่างกัน ทั้งยังไม่มีสามเณราลัยใหญ่สำหรับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในหลักสูตรปรัชญาและเทววิทยา จึงต้องส่งสามเณรไปศึกษาในต่าง ประ เทศ
พ.ศ. 2515 / ค.ศ. 1972
เพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ให้ตั้งสถาบันอบรมบาทหลวงคาทอลิกขึ้นในแต่ละประเทศ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติให้เปิด สามเณราลัยใหญ่ขึ้นที่ เลขที่ 20 หมู่ 6 ถนนเพชรเกษม กม. 29 ต. ท่าข้าม อ.สามพราน จ. นครปฐม โดยใช้ชื่อว่า “สามเณราลัย แสงธรรม (LUX MUNDI MAJOR SEMINARY)”
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 / ค.ศ. 1975
ทำพิธีเปิดสามเณราลัยแสงธรรมอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งการก่อกำเนิด “วิทยาลัยแสงธรรม (Saengtham College)” เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
19 เมษายน พ.ศ. 2519 / ค.ศ. 1976
ทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดวิทยาลัยแสงธรรม เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา เปิดสอน 2 หลักสูตรใน 2 คณะวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา และ คณะศาสนศาสตร์ หลักสูตรศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 / ค.ศ.1979
ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตรฐานการศึกษาของทั้ง 2 หลักสูตร และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้รับรองคุณวุฒิปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา และ ศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา ให้มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการเมื่อ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2522 / ค.ศ. 1979
ปีการศึกษา 2536 / ค.ศ. 1993
สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้โอนหน่วยงาน ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม เป็นองค์กรหนึ่งของวิทยาลัย ภายใต้การดำเนินงานของคณะผู้บริหารวิทยาลัยแสงธรรม
ปีการศึกษา 2537 / ค.ศ.1994
ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา เป็น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ปีการศึกษา 2538 / ค.ศ.1995
เริ่มใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ปีการศึกษา 2541 / ค.ศ.1998
ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา และหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิตสาขาเทววิทยา ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงทั้งสองหลักสูตรตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับทราบ
ปีการศึกษา 2543 / ค.ศ. 2000
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา ในคณะศาสนศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรครูในสาขาวิชาด้านคริสต์ศาสนา ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ดำเนินการได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 / ค.ศ. 2000
1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 / ค.ศ.2002
ทบวงมหาวิทยาลัยรับรองมาตรฐานการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาคริสตศาสนศึกษา
พ.ศ. 2548 / ค.ศ.2005
สมศ. ตรวจประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 1
พ.ศ. 2550 / ค.ศ.2007
สภาวิทยาลัย แบ่งส่วนงานเป็น 3 ฝ่าย ประกอบด้วย
1. ฝ่ายบริหาร
2. ฝ่ายวิชาการ
3. ฝ่ายกิจการนักศึกษา
พ.ศ. 2551 / ค.ศ.2008
สมศ. ตรวจประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 2
พ.ศ. 2551 / ค.ศ.2008
พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร และนำเสนอหลักสูตรใหม่ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (เทววิทยา)
พ.ศ.2552/ค.ศ.2009
สภาวิทยาลัย อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตร 3 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 )
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 )
- หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 )
และอนุมัติการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม พ.ศ.2553
พ.ศ.2553/ค.ศ.2010
เริ่มใช้หลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร